ชื่อวิทยาศาสตร์: Lantana camara linn.
ชื่อวงศ์: VERBENACEAE
ชื่อสามัญ: Cloth of gold, Lantana, Wild sage
ชื่อท้องถิ่น: ก้ามกุ้ง, เบญจมาศป่า (Central) ขะจาย, ตาปู, มะจาย (แม่ฮ่องสอน) ขี้กา (ปราจีนบุรี) คำขี้ไก่ (เชียงใหม่) ยี่สุ่น (ตรัง)
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งเถา สูง 1-2 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีขนทั่วไป
ใบ ออกตรงกันข้าม ตัวใบ กลมรี ยาว 3-9 ซม. ปลายแหลม ฐานใบกว้าง ขอบใบมีรอยหยัก สากมือ ท้องใบมีขนเล็กน้อย ผิวใบเป็นคลื่นขรุขระ มีกลิ่นมิ้นท์ฉุน
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกออกเป็นกระจุกคล้ายร่ม กว้างประมาณ 3 -5 ซม. กลีบดอกย่อยสีชมพู แดง เหลืองนวล หรือสองสี ส้ม ขาว ติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายบานออก มีรอยแยกตื้นๆ แบ่งเป็น 4-5 แฉก
ผล กลม เป็นกระจุก ผลเล็กๆ ประมาณ 5 มม. อ่อนสีเขียว เมื่อสุกจัด จะเปลี่ยนสีเป็นน้ำเงินเข้มถึงดำ ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก: มีดอกได้ตลอดปี
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ตัดกิ่งปักชำ
การใช้ประโยชน์:
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้กระถาง
ใช้เป็นสมุนไพร
กำจัดแมลง มีสารที่มีพิษต่อระบบประสาทของแมลง ใช้กำจัดแมลงจำพวก หนอนกระทู้ผัก โดยบดผลทั้งเมล็ดผกากรอง 1 กก. ผสมกับน้ำ 2 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วกรองเอาน้ำเข้มข้น ผสมกับน้ำสบู่ 1 ลิตร คนให้เข้ากัน แล้วผสมกับน้ำเปล่าอีก 5 ลิตร จึงนำไปฉีดพ่น
ถิ่นกำเนิด: อเมริกาเขตร้อน
สรรพคุณทางยา:
1 ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้ไข้ รักษาไขข้ออักเสบ หืด
2 ราก ใช้รากสดทำเป็นยาอมกลั้วคอ แก้ปวดฟัน แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง คางทูม ฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก
3 ใบ รสขม เย็น ขับลม ใช้ตำพอกแผล ฝีพุพอง ต้มน้ำอุ่น อาบหรือแช่แก้โรคปวดข้อ
4 ดอก รสชุ่ม จืด เย็น แก้วัณโรค ใช้ห้ามเลือด รักษาอาการปวดท้อง อาเจียน
วิธีและปริมาณที่ใช้
ใบสด - ประมาณ 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอกหรือคั้นเอาน้ำผสมเหล้าทา หรือต้มน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
ดอกแห้ง - ประมาณ 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม
รากสด - ประมาณ 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มน้ำอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน
ขอขอบคุณข้อมูลและความรู้ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ต
ข้อห้ามใช้ : หญิงมีครรภ์ห้ามดื่ม